วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สยามอะเมซิ่งพาร์คส่งความสุข เด็กเที่ยวฟรี!! ส่งท้ายปีเก่า ฉลองปีใหม่

 



เที่ยวสยามอะเมซิ่งพาร์คส่งท้ายปีเก่าฉลองปีใหม่ สนุกสุดๆ คุ้มสุดๆ เด็ก (สูงไม่เกิน 130 ซม.) เที่ยวสวนน้ำสวนสนุกฟรีข้ามปี 31 ธันวาคม 2564 – 31 มกราคม 2565 พร้อมโปรโมชั่นบัตรรายวันผู้ใหญ่ ซื้อล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ลดสูงสุด 61% เริ่มต้นเพียง 350 บาท (ปกติ 900 บาท) จัดหนักแบบจุกๆ เล่นได้ไม่อั้นทั้งสวนน้ำและเครื่องเล่นในสวนสนุก เด็กสนุกได้ ผู้ใหญ่ก็สุดฟิน ปีใหม่นี้ ห้ามพลาด

สนุกทั้งครอบครัวที่สยามอะเมซิ่งพาร์ค เพลิดเพลินกับมุมพักผ่อนสวยงาม เช็คอินถ่ายภาพสวยไม่ซ้ำใคร สุขสุดๆ กับเครื่องเล่นมากมาย อาทิ ผจญภัยแดนไดโนเสาร์ นั่งรถจี๊ปไรเดอร์เข้าไปชมไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆ / ไซ-แอมทาวเวอร์หอคอยชมวิวติดแอร์หมุน 360 องศา สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ / ล็อกฟลูม ล่องซุงมหาสนุก / วอร์เท็กซ์ รถไฟเหาะตีลังกาเกลียวสว่านใหญ่ที่สุด 1 ใน 2 ของโลก   พักผ่อนในทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก รับรองโดยกินเนสเวิลด์เรคคอร์ดส และเครื่องเล่นทางน้ำมากมาย

สนุกอุ่นใจสะอาดปลอดภัย สยามอะเมซิ่งพาร์คได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยว SHA Plus+ ให้บริการความสนุกภายใต้มาตรการการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) และมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) อย่างเคร่งครัด พนักงานบริการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบโดส และมีการตรวจคัดกรองทุกสัปดาห์

ซื้อบัตรล่วงหน้าราคาพิเศษวันนี้ที่ www.siamamazingpark.com/promotion-online รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.siamamazingpark.com/news-pr-detail/56/HappyNewYear2022 หรือ โทร. 02-105-4294  Line: @siamamazingpark

 


“เป็ดปักกิ่งราคาพิเศษ” ที่ห้องอาหารจีนหยก โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์

 



ห้องอาหารจีนหยก โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ จัดเมนูราคาพิเศษฉลองปีใหม่ตลอดเดือนมกราคม 2565 ด้วย “เป็ดปักกิ่ง” เพียง 999 บาทถ้วน (จากปกติ 1,742 บาท) เสิร์ฟพร้อมแผ่นแป้งที่นุ่มกำลังดีสำหรับห่อ (สูตรดิเอมเมอรัลด์) แตงกวา หอม และซอสราด ทานกับส่วนหนังเป็ดที่กรอบ หอมกรุ่นจากเตาย่าง ส่วนเนื้อเป็ดสามารถสั่งทำเมนูได้ 1 อย่าง

นอกจากนี้ยังขอเชิญชวนทุกท่านมาชิมความอร่อยของเมนูติ่มซำ ทั้งแบบนึ่งและทอดกว่า 35 รายการที่ได้รับความนิยมตลอดกาล ในรูปแบบบุฟเฟต์ทานได้ไม่อั้น รวมจานหลัก ของหวาน พร้อมชาจีน หรือ เก๊กฮวย บริการเฉพาะมื้อกลางวันเวลา 11.30 – 14.30 น. เพียงท่านละ 690 บาทถ้วนเท่านั้น (จากปกติ 801 บาท)

สำรองโต๊ะล่วงหน้าได้ที่โทร.0-2276-4567 ต่อ 8429 หรือ ไลน์ @theemeraldhotel หรือ www.facebook.com/yoktheemerald


วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564

คลังน้ำมันออสซี่ออยล์เปิดแผนปี 2565 ลุยนำธุรกิจพลังงานเพื่อการเกษตรครบวงจร

 



คลังน้ำมันออสซี่ออยล์เปิดแผนปี 2565 ลุยนำธุรกิจพลังงานเพื่อการเกษตรครบวงจร เจาะตลาดหัวเมืองใหญ่ กลุ่มชุมชน ผ่านกองทุนหมู่บ้านทั่วไทย ชูธงนำสถานีชาร์จ EV เป็นหัวหอกทำตลาดครอบคลุมพลังงานเพื่อการเกษตรทุกระดับ

นายสมโชค เดชะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทคลังน้ำมัน ออสซี่ออยล์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจพลังงานเพื่อการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2565 บริษัทจะใช้สถานีบริการชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถ EV เป็นตัวนำในการขยายฐานตลาดพลังงานเกษตรครบวงจร โดยมุ่งเจาะตลาดผ่านกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้า หลังภาครัฐมีนโยบายสนับสนุน ซึ่งจะทำให้ตลาดยานยนต์ไฟฟ้ามีอัตราการเติบโตสูงในอนาคต บริษัทจะเป็นรายแรกที่ให้ความสำคัญกับตลาดชุมชนทั่วไทย  โดยวางแผนที่จะนำธุรกิจพลังงานเพื่อการเกษตรครบวงจร ขยายไปในตลาดทั่วหัวเมืองใหญ่ กลุ่มชุมชน ผ่านกองทุนหมู่บ้านให้ขยายตัวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถเจาะตลาดได้มากกว่า 10,000 แห่งภายใน 5 ปีตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

โดยบริษัทดีเดย์ที่จะเปิดตัวโมเดลนี้ในเดือนมกราคม 2565 พร้อมๆกับการขยายตลาด สถานีบริการน้ำมันนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ภายใต้แบรนด์ “ออสซี่ออยล์เอ็นเนอร์ยี่ Aussieoil Energy” ใช้เงินลงทุน 5 ล้านบาทต่อแห่ง

สำหรับผู้ที่สนใจธุรกิจแฟรนไชส์ สถานีบริการชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถ EV ,ปั๊มน้ำมันนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ภายใต้แบรนด์ “ออสซี่ออยล์เอ็นเนอร์ยี่ Aussieoil Energy” ธุรกิจตู้เติมน้ำมัน และอื่นๆ สามารถติดต่อได้ที่ Call Canter : 06-27841111 เว็บไซต์ : http://aussieoil.co.th ,Line ID : @aussieoil




“อนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ” แถลงผลการดำเนินงานปี 2564 และแผนปี 2565 ดึง “จอห์น นูโว” “ซี ฉัตรปวีณ์” ร่วมเสวนาสื่อสร้างสรรค์

 



กรุงเทพฯ, 14 .. 64: คณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ ภายใต้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดแถลงข่าวการดำเนินงานโครงการตลอดปี 2564 และทิศทางการดำเนินงาน ปี 2565 พร้อมกิจกรรมการเสวนาในหัวข้อ สื่อสร้างสรรค์: Media Transforming in Digital Disruption” โดยดึงสองผู้บริหาร/พิธีกรชื่อดัง และผู้รับทุนของกองทุนฯ “จอห์น นูโว” แท็กทีม “ซี ฉัตรปวีณ์” ร่วมเปิดมุมมองสื่อสร้างสรรค์

 

ภายในงานแถลงข่าว ในรูปแบบเฟซบุ๊กไลฟ์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และเพจเฟซบุ๊ก Thairath ในวันนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ธนกร ศรีสุกใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ประธานคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมด้วย สองผู้บริหาร/พิธีกรชื่อดัง จอห์น นูโว หรือ จอห์น รัตนเวโรจน์ ประธานสมาคมเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้เท่ากันดิจิทัลเทคโนโลยี ผู้รับทุนโครงการ Digital Detective และกรรมการผู้จัดการ บริษัท สแพลช อินเตอร์แอ็คทีฟ จำกัด และซี-ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซเชียลแล็บ จำกัด และผู้รับทุนโครงการ iTop เจ้าของฉายา “เจ้าหญิงไอที” โดยได้รับความสนใจจากผู้ชมในห้องส่ง และทางออนไลน์จำนวนมาก

 



ดร.ธนกร ศรีสุกใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวภายในงานว่า “ปัจจุบัน สื่อมีผลต่อการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนมากขึ้น ขณะที่สื่อที่เหมาะสมกับเยาวชนมีจำนวนน้อย การผลิตสื่อสร้างสรรค์จึงมีข้อจำกัด ทั้งไม่เป็นที่นิยมของผู้ผลิต และขาดผู้สนับสนุน ทำให้ขาดเงินทุนในการผลิตสื่อที่มีคุณภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องมีกองทุนในการผลิตสื่อที่มีคุณภาพเผยแพร่ เพื่อสงเสริมการเรียนรู้ และพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และเยาวชน ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีของครอบครัว และส่งเสริมการมีส่วนของประชาชนในการพัฒนาสื่อ ด้วยเหตุนี้ กองทุนสื่อ จึงได้เริ่มดำเนินงานมา กว่า 4 ปี เพื่อให้ประชาชน เข้าถึง เข้าใจ และฉลาดในการใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภายใต้ยุทธศาสตร์สำคัญหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมพัฒนาการผลิตสื่อและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพ และพัฒนาทักษะสร้างสรรค์ผลงานสื่อให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งการทำงานที่กล่าวมานี้ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ”

 

“ผมขอชื่นชมในความทุ่มเทเสียสละของคณะทำงาน คณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อทุกท่านที่ตระหนักถึงความสำคัญในบทบาทหน้าที่ เพื่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนพี่น้องประชาชนจะรู้เท่าทัน และเสพสื่ออย่างปลอดภัย ซึ่งการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ ภายใต้การนำของ รศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ทำงานโดยมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีแผนการทำงานเชิงรุก ท่ามกลางปัจจัยที่ส่งผลกระทบรอบด้าน และท้าทายในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ทำให้คนเข้าถึงสื่อได้ง่าย รวดเร็ว และเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา”

 

“โดยเฉพาะสถานกาณ์ การระบาดของโรคโควิด-19 ที่เร่งการใช้เทคโนโลยีหรือสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้น ซึ่งเราต่างพบว่า มีข้อมูลข่าวสารปลอมปะปนจำนวนมาก จนประชาชนกลั่นกรองได้ยากลำบาก แต่คณะทำงานก็สามารถทำงานภายใต้แรงเสียดทาน จนมีผลงานในภาพรวมออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง” ดร.ธนกร กล่าว


 



ด้าน ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ประธานคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ กล่าวว่า “เมื่อโลกเปลี่ยนทุกคนสามารถเป็นสื่อได้ คณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ จึงก่อตั้งขึ้นมา ด้วยเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมสื่อ เหตุเพราะทุกคนสามารถเป็นสื่อได้ จากเครื่องมือที่มี โดยเฉพาะ เทคโนโลยีหรือสื่อออนไลน์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพัฒนาสื่อให้มีคุณภาพสร้างสรรค์ เพราะจะส่งผลต่อการพัฒนาความคิด ทักษะทางสังคม เพื่อทุกคนจะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น”

 

ผศ.ดร.วรัชญ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการนวัตกรรมสื่อ ได้มีการดำเนินการโครงการสำคัญไปหลายโครงการ ดังนี้

 

1.จัดทำนิยามนวัตกรรมสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์นั้นคือ ว่าการทำสื่อที่สร้างสรรค์และปลอดภัยเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ นิยามนวัตกรรมสื่อ คือ สื่อที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรือต่อยอดต่อสิ่งเดิม ซึ่งมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน และกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ง่าย ขณะที่ นิยามของนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  คือ นวัตกรรมสื่อที่มีเนื้อหามุ่งเน้นให้เกิดผลดีต่อสังคม ทั้งด้านศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม และความมั่นคง ความคิดสร้างสร้างสรรค์ การเรียนรู้ทักษะชีวิต การรู้เท่าทันสื่อ การใช้ประโยชน์จากสื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม โดยกลุ่มเป้าหมายของการดำเนินงาน คือ สื่อ ผู้ผลิตสื่อ และนักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนกลุ่มผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หน่วยงานรัฐเอกชน และภาคีเครือข่ายตลอดจนประชาชนทั่วไป

 

2.การมอบทุน

เป็นการพิจารณามอบทุนให้กับผู้ที่ต้องการสร้างนวัตกรรมสื่อ หรือต่อยอดจากโครงการเดิมไม่ว่าจะ Open Grant หรือ Strategic Grant หรือมอบทุนในลักษณะความร่วมมือหรือ Collaborative Grant

 

3.การวิจัยถอดองค์ความรู้นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โครงการนี้ ได้ส่งผลให้เกิดแนวทางการพัฒนานวัตกรรมสื่อสำหรับผู้ผลิตสื่อ เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและแนวทางการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา รวมถึงข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ต่อกองทุนในการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมสื่อ

 

4.การมอบรางวัลนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (Safe & Creative Media Innovation Awards)

คณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อฯ ได้ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) มอบรางวัลนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 2 ประเภท ดังนี้

 

1.ประเภทเยาวชน

Innovation: การพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ได้

Innovator (นวัตกร): นางสาวภณิดา แก้วกูร Website: https://www.newmeeple.com/ FB: https://www.facebook.com/NewMeeple/ เกม “The Rumor Villages” สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และทักษะการรู้เท่าทันสื่อแก่ เยาวชน โดยเนื้อหาในบอร์ดเกม เกิดจากแนวคิดการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact check) จากคู่มือภาคปฏิบัตินักตรวจสอบข้อเท็จจริง

 

2.ประเภทบุคคลทั่วไป

Innovation: การพัฒนาการตรวจจับข่าวปลอมโดยการเรียนรู้ของเครื่องและการตรวจสอบข้อเท็จจริงของประชาชน

Innovator (นวัตกร): คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.ดร.พนม
คลี่ฉายา Website: https://www.thaidimachine.org/ โครงการพัฒนาต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการตรวจจับข่าวปลอมและตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่ใช้เป็น กลไกการป้องกัน และแก้ปัญหาข่าวปลอมสำหรับประชาชน

 

5.การพัฒนาตัวชี้วัดนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

โดยมีคณะอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หรือคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ ดำเนินการโดยมีเป้าหมายการพัฒนาสื่อผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ การสร้างนวัตกร (Innovator) สื่อในทุกระดับ, การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์, การต่อยอดผลงาน, การสร้างเครือข่าย, การเปิดเวทีระดมความคิดเห็น, การเผยแพร่นวัตกรรมสื่อ และการสร้างเครื่องมือและองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมสื่อ





นอกจากนี้ ประธานคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อฯ ยังได้เผยถึงผลการดำเนินโครงการปี 2564 ดังนี้

1.โครงการ “เก๋าชนะ”: ทุนประเภทความร่วมมือ (Collaborative Grant)

รูปแบบรายการ "เก๋าชนะ" เป็นการ "ตอบคำถาม" ออนไลน์ และออฟไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom โดยแข่งขันทางระบบออนไลน์ ผ่าน zoom ความยาวไม่เกิน 10 นาที จำนวน 16 ตอน มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 16 ทีม โดยผู้ชนะเลิศ ได้รับเงินและถ้วยรางวัล

 

2.iTOP แพลตฟอร์มสำหรับการค้นหา Micro Influencer (ระยะเวลาดำเนินการ 2564-2565)

เป็นการอบรมเพื่อการสร้างรายได้ผ่านเทคโนโลยี ซึ่งทำให้เห็นว่า iTOP เป็นมากกว่าแพลตฟอร์มที่ค้นหา Micro Influencer แต่สามารถค้นหา "นักเล่าเรื่องระดับประเทศ" ได้ด้วย

 

3.โครงการ Landlab (ระยะเวลาดำเนินการ 2564-2565)

LANDLAB (แลนด์แลป) เป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านเกษตรและวิถีชุมชน เพื่อครอบครัวยุคใหม่ เพื่อพัฒนาพื้นที่เกษตรดั้งเดิม สู่การสร้างเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวและการเรียนรู้ใกล้เมือง จากชุมชนสู่ครอบครัวรุ่นใหม่ ทั้งยาวไทยและต่างประเทศ

 

4.โครงการปฏิบัติธรรมออนไลน์ ทุกวันพระ (ระยะเวลาดำเนินการ 2564-2565)

สามารถเข้าไปเลือกกิจกรรมที่สนใจ ได้แก่ ทำวัตรเช้า/สวดมนต์ ฟังเทศน์ กิจกรรมฝึกนั่งสมาธิเบื้องต้น ทำวัตรเย็น/สวดมนต์ ผ่านระบบออนไลน์

 

5.insKru (ระยะเวลาดำเนินการ 2564-2565)

เมื่อคลิกเข้าไปที่ www.inskru.com จะพบกับคลังไอเดียการสอนสดใหม่จากครูทั่วประเทศ โดย insKru มีที่มาจาก inspire + Kru เริ่มจากภาพห้องเรียนที่เราวาดฝันอยากให้เป็น คือ ห้องเรียนที่เด็กๆ เรียนรู้กันอย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพ ทีม insKru มีความเชื่อว่าครูที่มีไอเดียดี กระจายอยู่ทั่วประเทศ ทางทีมจึงสร้าง online learning community เพื่อให้ครูกว่า 5 แสนคนทั่วประเทศ ได้มาแลกเปลี่ยนไอเดียการสอนดีๆ เพื่อเปิดมฺมองในการสอนและขยายไอเดียการสอนดีๆ สู่ห้องเรียนทั้งประเทศ

 

“คณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ เรายังคงมุ่งมั่น ในการดำเนินงานโครงการ ตามยุทธศาสตร์และการทำงานเชิงรุก ตลอดจนการทำงานประสานกับภาคีเครื่อข่ายที่มีเป้าประสงค์เดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนพี่น้องประชาชนจะรู้เท่าทัน และเสพสื่ออย่างปลอดภัย” ผศ.ดร.วรัชญ์ กล่าว

 



นอกจากนี้ ภายในงานยังได้จัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ สื่อสร้างสรรค์: Media Transforming in Digital Disruption” โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ประธานคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, จอห์น นูโว หรือ จอห์น รัตนเวโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สแพลช อินเทอร์แอ็คทีฟ จำกัด และซี-ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซเชียลแล็บ จำกัด หรือเป็นที่รู้จักในนาม “เจ้าหญิงไอที” ผู้ที่ได้รับทุนโครงการ iTOP แพลตฟอร์มค้นหา Micro Influencer จากทางกองทุนฯ ซึ่งมีผู้สนใจเข้ารับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจำนวนมาก กระทั่งการเสวนาจบลงด้วยความประทับใจ

 

สำหรับประชาชนที่สนใจ และต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อ สามาถเข้าร่วมงาน นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ “Media Innovations Showcase & Forum 2022 ซึ่งจะจัดขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานครและภูมิภาคต่างๆ ในวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ที่จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 14 มกราคม 2565 ที่จังหวัดเชียงใหม่ และวันที่ 28 มกราคม 2565 ที่กรุงเทพฯ พบกับการนำเสนอผลงานนวัตกรรมสื่อ ผลการวิจัย การเสวนา และรายละเอียดการเปิดรับทุนปี 2565 นี้ ร่วมถึง Workshop เปิดรับฟังความคิดเห็นแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมไทยอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย







 


วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564

แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ-นักวิจัยนาโน-นักวิชาการ เสนอแนะใช้มาตรการล็อคดาวน์โควิด เพราะพบว่าการแพร่กระจายของ virus Covid19 ทุกสายพันธุ์ใช้ปรากฎการณ์ทางไฟฟ้าในการแพร่กระจาย



 

แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ-นักวิจัยนาโน-นักวิชาการ  เสนอแนะใช้มาตรการล็อคดาวน์ไวรัสโควิด หรือล็อคดาวน์โควิด เพราะพบว่าการแพร่กระจายของ virus Covid19 ทุกสายพันธุ์ใช้ปรากฎการณ์ทางไฟฟ้าในการแพร่กระจาย โดยที่เชื้อไวรัสใช้หนาม spike protein ที่มีสนามไฟฟ้าที่เป็นสื่อในการเกาะเกี่ยวเข้ากับเซลส์มนุษย์ที่จุด ACE 2 บนผนังเซลส์ จุด ACE 2 นั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากในโพรงจมูกและหลอดลม upper respiratory system เพื่อป้องกันการแพร่กระจายด้วยปรากฎการทางไฟฟ้างานวิจัย Nano Medicine ของสาร Nano Ionic Particles (NISP) จะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการดูแลการระบาดและแพร่กระจายของไวรัสกลายพันธฺต่างๆ



น.พ.มนตรี  เศรษฐบุตร

 

          ที่ ร.ร.มารวยการ์เด้นท์ (วันนี้) น.พ.มนตรี  เศรษฐบุตร ตัวแทนกลุ่มแพทย์ที่ร่วมวิจัย ท่านเป็นอดีตแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงสาธารณสุขและอดีตผอ.รพ.ศูนย์นครปฐม,พร้อมด้วย ดร.ศรีวิชัย ศรีสุวรรณ นักวิจัยด้าน Nano Medicine และคณะกรรมการด้านวิจัยพร้อมด้วย(Mr.P) นายสมชาย  พหุลรัตน์ ประธานสถาบันเครือข่ายไทยสร้างสรรค์ได้ร่วมเสวนาเรื่องงานวิจัยสารนาโน(NISP)หรือ nano ionic particle มาช่วยเพื่อช่วยในการ Lock down Virus หยุดการระบาดและแพร่กระจายของ virus โดยนายแพทย์มนตรี กล่าวว่าปัจจุบันในหลายประเทศโดยการวิจัยในต่างประเทศพบว่านาโนไอโอนิคพาทิเคิล (nisp) มีความสามารถในการต่อต้านเชื้อไวรัสกลายพันธ์ที่พัฒนามาเป็นหลายสายพันธุ์ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่นำมาช่วยในการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส หรือพูดง่าย ๆ คือ เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสกระจายจากผู้ติดเชื้อเข้าไปในร่างกายของผู้รับเชื้อ และป้องกันไม่ให้ออกจากร่างกายของผู้รับเชื้อต่อไปยังผู้อื่นอีกเป็นลูกโซ่ เพราะงานวิจัยที่ใช้สาร NISP ตัวนี้จะมาทำหน้าที่ดักจับตัวเชื้อไวรัสโดยล็อคหนาม spike protein ของเชื้อไวรัสด้วยสาร NISP ไม่ให้สามารถที่จะแพร่กระจายเข้าไปในร่างกาย หรือแม้ สาร NISP จะติดเข้าไปใน cell ก็จะหยุดขบวนการก็อปปี้ตัวใหม่ของไวรัส replication ขึ้นมาอีก ดังจะเห็นว่าจากตอนที่คณะนักวิจัยและแพทย์ได้นำไปช่วยป้องกันการระบาดและการแพร่กระจายที่ โรงพยาบาล ศาสายาซึ่งมีคนไข้ที่เป็นคนชราและป่วยติดเตียง ให้ดำเนินกิจกรรมของทางโรงพยาบาลต่อไปได้โดยไม่ต้อง  Lock down หลังจากพบบุคคลากรที่โรงพยาบาลบางคนติดเชิ้อ Covid 19 โดยหลังจากการใช้สาร NISP การติดเชื้อไม่ได้แพร่ระหว่างบุคลากรและไม่แพร่ไปสู่คนไข้  ต่อมาก็ได้ช่วยหยุดการระบาดที่วัดสวนแก้วของพระพะยอม ที่มีพระและลูกศิษย์ 600-700 คนในวัด หยุดการระบาดและแพร่กระจายได้แล้วเสร็จในเวลา 10-14 วันลดความเสียหายจากที่ท่านพระพะยอมบอกว่าสูงถึง 7 ล้านบาทช่วง Lock down และนพ.มนตรีก็ได้นำไปช่วยชุมชนหลายที่ในจังหวัดสงขลา และล่าสุดนายวัฒนา เมืองมาศ ประธานชมรมกรีฑาสงขลา ได้มาของานวิจัยตัวนี้ไปใช้ป้องกันโควิดให้กับนักกรีฑาที่จะแข่งขันในไทยแลนด์โอเพ่นมาสเตอร์เกมส์ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 8-11 มกราคม 2565 ซึ่งเป้าหมายของเราคิดว่า เรานำมาเป็นตัวช่วยในการล็อคดาวน์โควิด



ดร.ศรีวิชัย ศรีสุวรรณ

 

               ด้าน ดร.ศรีวิชัย ศรีสุวรรณ  นักวิจัยด้าน nano medicine ในฐานะหัวหน้าทีมงานวิจัยกล่าวว่าคณะทำงานวิจัยนาโนมีหลายท่านนอกเหนือจากคุณหมอมนตรี แล้วยังมีนายแพทย์จรัสพงษ์ ทังสุบุตร,นายแพทย์ภาคภูมิ สุปิยพันธ์ และแพทย์หญิงเชิดชู อาริยศรีวัฒนาฯลฯ ได้พยายามติดตามสถานการณ์โควิดที่ระบาดมา 2 ปีนี้ทั้งโลกและในประเทศไทย จะเห็นว่าไวรัสได้กลายสายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ เราในฐานะนักวิจัยด้านนาโนฯและจากประสพการณ์ที่ผ่านมาคิดว่า เราน่าจะเปลี่ยนวิธีป้องกัน  virus หยุดการแพร่กระจายด้วยสาร NISP  ซึ่งง่ายต่อการปฎิบัติ ก็คือเราใช้ nano ionic particle  เพื่อการ Lock down virus โดยไม่ต้องไป Lock down ผู้คนหรือธุรกิจสั่งปิดสถานที่ต่าง ๆในอนาคตซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความเสียหายทางธุรกิจและเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆต่อมาเป็นลูกโซ่ ด้วยงานวิจัยสารนาโนที่สกัดจากแร่ธาตุหลายชนิด และครอบครัวตนเองและบุคคลอีกหลายภาคส่วนก็ได้ใช้กันมาแล้ว พวกเราในคณะนักวิจัยคิดว่าอะไรที่จะเป็นตัวช่วยทำให้เรารอดพ้นจากวิกฤตไวรัสโควิดก็น่าจะทำในหลายมิติเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการใช้ยาและวัคซีน ซึ่งใช้คู่ขนานกันได้ โดยไม่ต้องกักตัวคนหรือหยุดโรงเรียน ปิดสถานที่ไม่ให้คนได้ทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกันได้   เมื่อใช้สาร NISP ก็สามารถดำเนินกิจกรรมทางสังคมร่วมกันได้อย่างปลอดภัย



นายสมชาย  พหุลรัตน์

 

      ทางด้านนายสมชาย  พหุลรัตน์ ในฐานะวิทยากรด้านสุขภาพกล่าวว่า”ถ้าเรามีทางเลือกที่จะ Lock down virus เป็นตัวช่วยให้ หยุด โควิดกลายพันธ์อื่น ๆ ได้อีกก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีเพราะมันทำให้ชีวิตผู้คนปลอดภัยมากขึ้น การดำเนินชีวิตในสถานการณ์โควิดที่ยังระบาดและกลายพันธ์ไม่รู้จะจบเมื่อไรเมื่อมีงานนวัตกรรมงานวิจัยด้านนาโนมาเป็นตัวช่วยอีกด้านหนึ่งในการป้องกันการแพร่กระจาย ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีทำให้ชีวิตดำเนินไปได้ไม่ต้องสะดุดหรือหยุด ต้องชมเชยคณะทีมงานวิจัยทางด้านนาโนฯที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ มาเป็นตัวช่วยวิกฤติโควิด 

 


GAC AION ขนที่สุดของซูเปอร์คาร์รถไฟฟ้า Hyper SSR ขุมพลัง 1,225 แรงม้า 0-100 กม.ต่อชั่วโมง ภายในเวลา 1.9 วินาที ให้ผู้ขับได้สัมผัสแรงกระชากในระดับ 1.7 G ในงาน Motor Expo 30 นี้

                 GAC AION  มาเหนือเมฆขนขุมพลังแห่งรถไฟฟ้า 100% ระดับไฮเอน Hyper SSR ด้วยขุมพลัง 1,225 แรงม้า 0-100 กม. ต่อชั่วโมง ภายในเวลา ...