สถาบันเครือข่ายไทยสร้างสรรค์(สคทส.)
Thai Sangsan Institute “สรรค์สร้างไทย อนาคตไทย”
ความเห็นต่างในยุคโควิดภิวัฒน์ ชีวิตที่ต้องเป็นแบบ
Next Normal
สถาบันเครือข่ายไทยสร้างสรรค์(สคทส.)Thai
Sangsan Institute มองปัญหาสังคมไทยในช่วงโควิดภิวัฒน์
ว่า”บนความคิดเห็นที่เห็นต่าง หรือความคิดที่แตกต่าง
ต้องยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ถ้าเรายึดพื้นฐานเคารพความคิดเห็นของกันและกันหรือแต่ละฝ่ายได้โดยไม่แตกแยกสังคมก็อยู่กันได้
นักวิชาการด้านการศึกษามองปัญหาของโลกวันนี้มันเปลี่ยนแปลงมาพร้อมกับเทคโนโลยี่ ความคิดของคนรุ่นใหม่ จึงแตกต่างจากคนรุ่นเก่า
ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนี้กับสถานการณ์โควิดระบาดทั้งโลก
จึงไม่ใช่จะดำเนินชีวิตแบบ
New Normal แล้วแต่ต้องวางแผนแบบ Next Normal
นายสมชาย
พหุลรัตน์ ประธานสถาบันเครือข่ายไทยสร้างสรรค์ (สคทส.) Thai Sangsan
Institute ได้เผยถึงการระดมความคิดเห็นของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของสถาบันฯทางด้านการศึกษาอย่าง
ศ.ดร.มณีรัตน์ สวัสดิวัต ณ อยุธยา (ราชบัณฑิตยสถาน-เจ้าของรางวัลการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากสหประชาชาติ)
ศ.ดร.สุรพล บุญประถัมภ์ (นักวิชาด้านวัฒนธรรม-ศาสนา) อาจารย์นิดาวรรณ เพราะสุนทร
เลขาธิการสถาบันฯ(ผอ.หลักสูตรนิติศาสตร์ ม.รังสิต) Prof.อิน
นฤหล้า (นักวิชาการนานาชาติ-อดีตคณะบดีบริหารธุรกิจม.เอแบค),
Prof.ปีแอร์ เดอลาลองด์, Prof.สก็อต
บัดเล่ยด์ (โปรแกรมหลักสูตรLeadership)อ.สุพัฒก์
ชุมช่วย(นักวิชาการอิสระหลักสูตรGTO) และ พ.ต.อ.สุรโชค เจษฎาเดช
“สารวัตรแรมโบ้” ประธานมูลนิธิป้องกันต่อต้านอาชญากรรมและยาเสพติด(ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านกฎหมาย-ยุติธรรมสถาบันฯ)พร้อมนักวิชาการด้านสาธารณสุขและสังคม
อ.เภสัชกรอธิวัฒน์ สินรัชตานันท์
ผู้เชี่ยวชาญศาสาตร์แห่งแพทย์ทางเลือกและผู้ทรงคุณวุฒิด้านสมุนไพรและ นายชนแดน
พรหมเมศร์ นักธุรกิจด้านสุมนไพร
ได้มองปัญหาของประเทศไทยในคณะนี้ที่เราสามารถจัดการปัญหาโรคระบาดไวรัสโควิด 19
ได้เป็นอย่างดีและได้รับคำชมเชย
ซึ่งเป็นเพราะคนไทยเรามีวินัย และเชื่อฟังในข้อมูลข่าวสารของทางการ
ถึงแม้จะมีบ้างที่ละเลยในการไม่เซฟตัวเองในการใส่แมส
แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะใส่กันแทบทั้งนั้น
แต่ปัญหาอีกเรื่องที่ตามมาในปัจจุบันและปัญหาที่มากับยุคเทคโนโลยี่
แต่เราคิดว่านี้คือปัญหาในช่วงโควิดภิวัตน์
คือการแสดงความคิดเห็นที่เห็นต่างของผู้คนในสังคม(บางส่วน)
หรือจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
โดยเฉพาะที่เราได้ยินได้ฟังคือคนรุ่นใหม่
มีความเห็นที่ต่างหรือแตกต่างจากคนรุ่นใหม่ในทำนองนั้น
“คณะกรรมการยุทธศาสตร์ทั้งหมดของสถาบันฯมองว่านี้คือ
ความเปลี่ยนแปลงของโลกที่คนรุ่นใหม่เขาก็จะมีความคิดของเขาอาจจะก้าวหน้า
หรือจะเรียกว่าก้าวล้ำ แตกต่างจากคนรุ่นเก่าๆ
(ขอเรียกว่าผู้อาวุโสหรือผู้เชี่ยวชาญชีวิต ที่มีประสบการณ์มาก่อนก็ได้)
ซึ่งบางเรื่องความเห็นจึงเป็นคนละมุมมอง
แต่ผู้ใหญ่เราก็ต้องปรับตัวและฟังคนรุ่นใหม่ให้มาก ๆ
ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เพราะเราต้องคิดอยู่เสมอว่า ความคิดเห็นต่าง
หรือเห็นแตกต่างกันสามารถอยู่รวมกันได้
บนพื้นฐานความเห็นต่างที่เคารพในความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ก็จะทำให้คนรุ่นก่อนหรือรุ่นใหม่ก็สามารถจะเดินคู่ขนานกันไปได้
แต่ถ้าเราเป็นแบ่งว่าคนรุ่นใหม่ คิดอย่าง คนรุ่นเก่าคิดอย่าง มันก็ดูถ้าไม่ได้เสียหายอะไร
แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับส่วนรวมประเทศชาติเราก็ยอมรับในความคิดเห็นของกันและกัน
แต่ต้องไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง”
นายสมชายฯ
ประธานสถาบันฯ กล่าวตอนท้ายว่า”เราอยู่กับโควิดภิวัตน์
เราก็ต้องปรับตัวเองไปทุกอย่างแม้กรทั่งความคิดเห็นก็ต้องปรับตาม
เราจะอยู่แบบที่เรียกว่า
New Normal ไม่ได้แล้วแต่เราจะต้องวางแผนชีวิตในแบบ Next Normal โลกทั่งโลกเปลี่ยนแปลงเพราะไวรัสตัวนี้เรายังไปมาหาสู่กับชาวโลกแบบปกติเหมื่อนเดิมยังไม่ได้
ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนออกมาใช้ เพราะฉะนั้นชีวิตจากนี้ไปคือชีวิตแบบเน็คนอร์มอล
เราต้องปรับตัวเองทุกอย่าง ตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวัน
ร่วมไปถึงความคิดเห็นในบางเรื่องก็คงจะเป็นแบบ Next Normal ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดนั้นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของสถาบันฯจะนำมาถ่ายทอดต่อในรายการตรงประเด็นและทางโซเชี่ยลมิเดีย-ยูทูปส์และเครือข่ายวิทยุของสถาบันฯที่เรามีอยู่ทั้งหมด.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น