เมื่อวันที่ 1
ต.ค.ที่ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ พนักงานโรงแรมดาราเทวี ต.ท่าศาลา อ.เมือง
จ.เชียงใหม่ จำนวนกว่า 200 คน
ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเลื่อนเปิดกิจการ รวมตัวกันเดินทางมาพบนายเจริญฤทธิ์
สงวนสัตย์ ผวจ.เชียงใหม่
เพื่อขอให้ใช้อำนาจตามหน้าที่ ในฐานะนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติโรงแรม
พ.ศ.2547
ขอให้มีคำสั่งปิดกิจการโรงแรมดังกล่าว อย่างถาวร
เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม หลังจากที่โรงแรมไม่จ่ายค่าจ้างพนักงาน
โดยนายอำนาจ ปันสุพฤกษ์ พนักงานตำแหน่งผู้จัดการห้องอาหารจีน
กล่าวว่า ได้รวมกลุ่มกับพนักงานโรงแรม
เพื่อขอให้ทางจังหวัดช่วยดำเนินการเรียกร้องเงินเดือน จากทางโรงแรม
โดยปัจจุบันพนักงานประมาณ 300 คน
มูลค่าที่โรงแรมจะต้องชดเชยให้กับพนักงานทั้งหมดประมาณ 100
ล้านบาท เฉพาะของตัวเองมูลค่ารวมประมาณ 3 ล้านบาท
ซึ่งพนักงานได้รับความเดือดร้อนเดือดร้อนเกี่ยวข้องตามกฎหมาย
อันเกิดจากการกระทำความผิดของผู้ประกอบกิจการโรงแรม
น.ส.กุลธนา
พึ่งพิณ พนักงานตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการร้านของที่ระลึก กล่าวว่า วันนี้ที่เดินทางมาพร้อมกัน
เพื่อขอให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัด มีคำสั่งปิดกิจการถาวร
เนื่องจากใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมขาดไปแล้ว 2
เดือน ซึ่งตามกฎหมายหากเกิน 2
เดือนจะต้องมีการพิจารณาขออนุญาตใหม่ทั้งหมด ซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1ปี
และจากสภาพโรงแรม ณ
ปัจจุบันไม่สามารถที่จะฟื้นฟูให้กลับมามีสภาพที่พร้อมเปิดให้บริการได้
ซึ่งหากจะปรับปรุงเชื่อว่าจะต้องใช้เงินหลายร้อยล้านบาท
ตัวแทนพนักงานรายหนึ่งเปิดเผยสาเหตุที่โรงแรมต้องปิดตัวลงอย่างถาวรเนื่องมาจากมีการโอนย้ายยักยอกเงินรายได้ทั้งหมดของโรงแรมไปยังบริษัทอื่น
ตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ทำให้โรงแรมไม่มีรายได้เข้าบัญชีของโรงแรม
รายได้จากการขายห้องพัก จากการขายอาหาร จากการจัดเลี้ยง
ทุกบาททุกสตางค์ถูกโอนไปยังบัญชีอื่นเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ของโรงแรม
ตามมายึดอายัดได้ ทำให้โรงแรมขาดสภาพคล่อง
ไม่มีเงินจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์ทของพนักงานตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา
และไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนพนักงาน ตั้งแต่เดือน ก.พ.จนพนักงานทั้งหมดรวมตัวกันประท้วงผู้บริหารจนเป็นข่าวใหญ่
หน้า 1 นสพ.เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา
ก่อนพนักงานจะพากันไปร้องเรียนกรมแรงงาน และฟ้องร้องเป็นคดีที่ศาลแรงงาน
ขณะเดียวกันบรรดาเจ้าหนี้พากันรุมฟ้องร้องโรงแรมและผู้บริหาร
ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งนับสิบคดี เนื่องจากผู้บริหารโรงแรมไม่จ่ายเงินชำระหนี้
จนศาลมีคำสั่งอายัดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารทุกบัญชีทำให้โรงแรมขาดสภาพคล่องไม่มีบัญชีธนาคารที่จะทำธุรกิจได้
อีกสาเหตุมาจากกรณีที่ผู้บริหารโรงแรมแท้จริงแล้วคือผู้บริหารของบริษัทอินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (IFEC) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ที่ตั้งใจปล่อยให้ใบอนุญาตธุรกิจโรงแรมขาดอายุไปตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา ตามกฏหมายแล้วเมื่อใบอนุญาตขาดอายุเกินสองเดือนก็จะต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่หมด เหมือนกับการขอเปิดโรงแรมใหม่ ที่ต้องใช้เอกสารและมีขั้นตอนมากมายซึ่งผู้บริหารโรงแรมไม่สามารถทำได้อย่างแน่นอน เท่ากับว่าโรงแรมดาราเทวีต้องปิดกิจการลงอย่างถาวรอีกทั้งทรัพย์สินอาคารและที่ดินทั้งหมดก็ถูกเจ้าหนี้ยึดไว้รอการขายทอดตลาดต่อไป
นายเจริญฤทธิ์ ผวจ.เชียงใหม่
กล่าวว่า
หลังจากรับเรื่องแล้วต้องมาพิจารณาตามข้อกฎหมายว่าจะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพนักงานได้มากน้อยขนาดไหน
ในส่วนกระบวนการด้านแรงงานได้มีการดำเนินการถึงชั้นศาล
ขณะที่สำนักงานวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะเข้าไปกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ส่วนประเด็นวันนี้
กรณีที่โรงแรมไม่ได้ขอต่อใบอนุญาต ขณะที่พนักงานยังคงสภาพ
หากมีการปิดกิจการอย่างชัดเจน พนักงานจะได้รับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน
ในส่วนนี้จะต้องนำมาพิจารณาตามข้อกฎหมายได้อย่างไร
เพื่อให้พนักงานได้รับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน อย่างไรก็ตาม
จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้ไปสำรวจสภาพทั่วไปของโรมแรมดาราเทวี
พบว่าตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด -19
มาจนถึงปัจจุบันโรงแรมได้เลื่อนเปิดกิจการมาแล้วสองครั้ง ล่าสุดกำหนดเปิดวันนี้ 1
ต.ค. แต่ก็เปิดไม่ได้ ซึ่งการที่โรงแรมปิดสนิทไม่ได้ใช้งานอยู่หลายเดือน
ขาดการดูแลรักษา อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบไฟฟ้า
ไม่สามารถใช้งานได้เพราะถูกตัดน้ำตัดไฟ และถูกเจ้าหนี้ยึดหม้อแปลงไฟฟ้าไปหมด
ล่าสุดเมื่อวันที่ 28
ก.ย. นายทวิช เตชะนาวากุล และ นายหาญ เชี่ยวชาญ กรรมการบริษัทโรงแรมดาราเทวี
จำกัด ได้มีประกาศแจ้งพนักงานฯปิดกิจการชั่วคราวอีกครั้ง
อ้างเหตุผลอันเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
เลื่อนเปิดออกไปอีก 60 วันตั้งแต่ 1
ต.ค.ถึง 30 พ.ย.63
พนักงานทั้งหมดเชื่อว่าบริษัทไอเฟคซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ
ดาราเทวี ตั้งใจปิดกิจการโรงแรมดาราเทวีและหลีกเลี่ยงไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้กับพนักงานทุกคน
ซึ่งมีพนักงานจำนวนมากที่มีอายุงานมากกว่า 10-16 ปี
ต้องใช้เงินมากกว่า 30 ล้านบาทจ่ายค่าชดเชย
ผู้บริหารของบริษัทไอเฟคจึงใช้วิธีประกาศว่าจะเปิดโรงแรมในวันนั้นวันนี้แล้วเลื่อนมาโดยตลอด
และสัญญาว่าจะจ่ายเงินค่าจ้าง 75%
ของเงินเดือนให้ทุกเดือนซึ่งไม่มีใครเคยได้รับเลย
ยกเว้นกลุ่มพนักงานที่ใกล้ชิดกับผู้บริหารบางรายเท่านั้น
วันนี้พนักงานโรงแรมทั้งหมดจึงต้องรวมตัวกันมาร้องเรียนขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะนายทะเบียนโรงแรม ได้มีคำสั่งให้ปิดกิจการโรงแรมอย่างถาวร เพราะถ้าไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมตามกฏหมายแล้ว พนักงานทั้งหมดจะได้มีโอกาสยื่นฟ้องร้องศาลแรงงาน ขอเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานจากทางโรงแรมและผู้บริหารต่อไปได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น